วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

โครงการจัดการศึกษาส้วมสุขสันต์ในโรงเรียน
โครงการจัดการศึกษาส้วมสุขสันต์ในโรงเรียน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาห้องน้ำห้องส้วมในโรงเรียนวัดเขาสำเภาทองให้ได้มาตรฐาน โดยเน้นพัฒนาห้องน้ำ โรงเรียน ใน ๔ ด้าน คือ ด้านความสะอาด  เพียงพอ  ความปลอดภัย การจัดการให้ได้มาตรฐาน
           ความสะอาด (Healthy) หมายถึง ส้วมจะต้องได้รับการดำเนินการให้ถูกหลักสุขาภิบาล   เช่น ห้องส้วมและสุขภัณฑ์ทั้งหมดจะต้องสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น มีน้ำสะอาด มีวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริการ เช่น น้ำสะอาด สบู่ล้างมือ การเก็บกักหรือบำบัดสิ่งปฏิกูล และมีสภาพแวดล้อมสวยงาม ซึ่งจะส่งผลต่อร่างกายและจิตใจของผู้ใช้บริการ
                    ๒.  ความเพียงพอ (Accessibilityหมายถึง ต้องมีห้องน้ำเพียงพอตามเกณฑ์ สพฐ.กำหนด และห้องน้ำต้องพร้อมใช้งานตลอดเวลา
                   ๓.  ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง ผู้ใช้บริการจะต้องปลอดภัยขณะใช้ห้องน้ำ  เช่น สถานที่ตั้งห้องน้ำไม่เปลี่ยว  แยกเพศชาย  หญิง   ประตูห้องน้ำมี ที่จับกลอน ที่แข็งแรง มีแสงสว่างเพียงพอ บริเวณเก็บกักหรือบำบัดสิ่งปฏิกูลถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจของผู้ใช้  เป็นต้น
                    ๔.  การจัดการ  (Management) หมายถึง สถานศึกษากำหนดเป็นนโยบายและประชาสัมพันธ์ถึงโทษ ประโยชน์และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับห้องน้ำสะอาด
                   ในปีการศึกษา ๒๕๕๒ ได้จัดส่งเข้าประกวด และได้รับรางวัล ชนะการประกวด    ส้วมสุขสันต์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๒ ประเภท โรงเรียนประถมศึกษา ขนาดกลาง จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                   ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ใช้หลักการสร้างการมีส่วนร่วมเป็นกลยุทธ์สำคัญ เพื่อความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “ความยั่งยืนขึ้นอยู่กับความรู้สึกเป็นเจ้าของ”
                   ปีการศึกษา ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบัน ใช้แนวคิด “ส้วมต้องไม่ใช่แค่ส้วม” กล่าวคือ การใช้ประโยชน์จากส้วมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ จะช่วยก่อให้เกิดความยั่งยืนและพัฒนาเป็นส้วมสาธารณะในประเทศไทยให้ได้มาตรฐาน  เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรคติดต่อและเพื่อความพึงพอใจของประชาชนไทย  และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ  โดยเน้นพัฒนาส้วมสาธารณะในประเทศไทยให้บรรลุ  ๓  เรื่องคือ  สะอาด  เพียงพอ  ปลอดภัย  ให้ได้มาตรฐาน  หรือ   Healthy  Accessibility  Safety  (HAS)
          ๑.  สะอาด  (Healthy)  หมายถึง  ส้วมจะต้องได้รับการดำเนินการให้ถูกหลักสุขาภิบาล  (Sanitation  Conditions)  เช่น  ห้องส้วมและสุขภัณฑ์ทั้งหมดจะต้องสะอาด  ไม่มีกลิ่นเหม็น  มีวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริหาร  เช่น  น้ำสะอาด  สบู่ล้างมือ  กระดาษชำระเพียงพอ  การเก็บกักหรือบำบัดสิ่งปฏิกูลถูกต้องและมีสภาพแวดล้อมสวยงาม  ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ใช้บริการ
          2.  เพียงพอ  (Accessibility)  หมายถึง  ต้องมีส้วมให้เพียงพอแก่ความต้องการของผู้ใช้รวมถึงผู้พิการ  ผู้สูงวัย  หญิงมีครรภ์  และส้วมต้องพร้อมใช้งานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ
          3.  ปลอดภัย  (Safety)  หมายถึง  ผู้ใช้บริการจะต้องปลอดภัยขณะใช้ส้วม  เช่น  สถานที่ตั้งส้วมไม่เปลี่ยว  ห้องส้วมแยกเพศชาย  หญิง
          ส้วมสาธารณะ  หมายถึง  ห้องส้วมในที่สาธารณะหรือสถานประกอบการหรือสถานบริการที่จัดเตรียมไว้ให้ประชาชนทั่วไปใช้บริการ
            1.  เกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ
ความสะอาด  (Healthy:H)
1.   พื้น  ผนัง  เพดาน  โถส้วม  ที่กดโถส้วม  โถปัสสาวะ สะอาด ไม่มีคราบสกปรก อยู่ใน
      สภาพดีใช้งานได้
2.   น้ำใช้สะอาด  เพียงพอ  และไม่มีลูกน้ำยุง  ภาชนะเก็บกักน้ำ  ขันตักน้ำ  สะอาด  อยู่ใน
      สภาพดี  ใช้งานได้
3.   กระดาษชำระเพียงพอต่อการใช้งานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ (อาจจำหน่ายหรือ
       บริการฟรี)   หรือสายฉีดน้ำชำระที่สะอาด  อยู่ในสภาพดี  ใช้งานได้
4.   อ่างล้างมือ  ก๊อกน้ำ  กระจก  สะอาด  ไม่มีคราบสกปรก  อยู่ในสภาพดีและใช้งานได้
5.   สบู่ล้างมือ  พร้อมให้ใช้  ตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ
6.   ถังรองรับมูลฝอย  สะอาด  มีฝาปิด  อยู่ในสภาพดี  ไม่รั่วซึม  ตั้งอยู่ในบริเวณอ่างล้างมือ
      หรือบริเวณใกล้เคียง
7.   มีการระบายอากาศดี  และ  ไม่มีกลิ่นเหม็น
8.   สภาพท่อระบายสิ่งปฏิกูลและถังเก็บกักไม่รั่ว  แตก  หรือชำรุด
9.   จัดให้มีการทำความสะอาด  และระบบการควบคุมตรวจตรา  เป็นประจำ
ความเพียงพอ  (Accessibility:A)
10. จัดให้มีส้วมนั่งราบสำหรับผู้พิการ ผู้สูงวัย หญิงตั้งครรภ์และประชาชนทั่วไปอย่างน้อยหนึ่งที่
11. ส้วมสาธารณะพร้อมใช้งานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ
ความปลอดภัย  (Safety:S)
12. บริเวณที่ตั้งส้วมต้องมีอยู่ที่ลับตา/เปลี่ยว
13. กรณีที่มีห้องส้วมตั้งแต่  2  ห้องขึ้นไป ให้แยกเป็นห้องส้วมสำหรับชาย  หญิง  โดยมีป้าย
      หรือสัญลักษณ์ที่ชัดเจน
14. ประตู  ที่จับเปิด  ปิด  และที่ล็อคด้านใน  สะอาด  อยู่ในสภาพดี  ใช้งานได้
15. พื้นห้องส้วมแห้ง
16. แสงสว่างเพียงพอ  สามารถมองเห็นได้ทั่วบริเวณ

คำชี้แจงการใช้เกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ
เกณฑ์มาตรฐานข้อ 1 :
พื้น  ผนัง  เพดาน  โถส้วม  ที่กดโถส้วม  โถปัสสาวะ  ที่กดโถปัสสาวะ  สะอาด  ไม่มีคราบสกปรกอยู่ในสภาพดี  ใช้งานได้
คำชี้แจงการใช้เกณฑ์ :
ความสะอาด  หมายถึง  ไม่มีฝุ่น  หยากไย่  ไม่มีคราบสกปรก  ให้สังเกตบริเวณซอกมุม  คอห่าน  ภายใน  ภายนอกโถส้วมและโถปัสสาวะด้วย

เกณฑ์มาตรฐานข้อ 2 :
น้ำใช้สะอาด  เพียงพอ  และไม่มีลูกน้ำยุง  ภาชนะเก็บกักน้ำ  ขันตักน้ำ  สะอาด  อยู่ในสภาพดี  ใช้งานได้
คำชี้แจงการใช้เกณฑ์ :
น้ำสะอาด  หมายถึง  น้ำใส  ไม่มีตะกอน  (มองดูด้วยตา)  ไม่มีลูกน้ำยุง  หมายถึง  ไม่มีลูกน้ำยุงในภาชนะเก็บกักน้ำ  และรวมถึงในภาชนะใส่ไม้ดอกไม้ประดับที่ตั้งอยู่ในห้องส้วมและบริเวณโดยรอบห้องส้วมด้วย



เกณฑ์มาตรฐานข้อ 3 :
กระดาษชำระเพียงพอต่อการใช้งานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ  (อาจจำหน่ายหรือบริการฟรี)   หรือสายฉีดน้ำชำระที่สะอาด  อยู่ในสภาพดี  ใช้งานได้
คำชี้แจงการใช้เกณฑ์ :
1.  กรณีมีกระดาษชำระ  กระดาษชำระต้องอยู่ในภาชนะที่เตรียมไว้  หรือที่แขวนโดยเฉพาะ
2.  กรณีมีน้ำประปาเปิดได้ตลอดเวลาต้องมีสายฉีดน้ำชำระ
3.  กรณีสถานที่ที่ไม่มีน้ำประปาหรือมีน้ำประปาเปิดได้บ้างบางเวลา  หรือขาดแคลนน้ำ 
ให้พิจารณา  น้ำภาชนะเก็บกักน้ำ  ขันตักน้ำสะอาด  สามารถใช้น้ำดังกล่าวทำความสะอาดร่างกายได้ 
ถือว่าควรผ่านการประเมิน  (ทั้งนี้ให้ขั้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ประเมิน)

เกณฑ์มาตรฐานข้อ 4 :
อ่างล้างมือ  ก๊อกน้ำ  กระจก  สะอาด  ไม่มีคราบสกปรก  อยู่ในสภาพดีและใช้งานได้
คำชี้แจงการใช้เกณฑ์ :
อ่างล้างมือ  ก๊อกน้ำ  กระจก  ให้สังเกตคราบสกปรก  หรือคราบสีดำ  บริเวณซอก  รอยต่อระหว่างโลหะกับเนื้อกระเบื้อง  และก๊อกน้ำด้วย

เกณฑ์มาตรฐานข้อ 5 :
สบู่ล้างมือ  พร้อมให้ใช้  ตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ
คำชี้แจงการใช้เกณฑ์ :
สบู่ล้างมือ  ควรอยู่ในภาชนะใส่สบู่โดยเฉพาะ  ถ้าเป็นสบู่เหลว  ที่กดสบู่ต้องใช้งานได้

เกณฑ์มาตรฐานข้อ 6 :
ถังรองรับมูลฝอย  สะอาด  มีฝาปิด  อยู่ในสภาพดี  ไม่รั่วซึม  ตั้งอยู่ในบริเวณอ่างล้างมือ 
หรือบริเวณใกล้เคียง
คำชี้แจงการใช้เกณฑ์ :
ถังรองรับมูลฝอย  สะอาด  มีฝาปิด  และต้องไม่มีขยะมูลฝอยล้นออกมานอกถัง





เกณฑ์มาตรฐานข้อ 7 :
มีการระบายอากาศดี  และ  ไม่มีกลิ่นเหม็น
คำชี้แจงการใช้เกณฑ์ :
1.  การระบายอากาศดี  หมายถึงมีช่องระบายอากาศ  ไม่น้อยกว่าร้อยละ  10  ของพื้นที่ห้อง  หรือมีเครื่องระบายอากาศ
2.  ไม่มีกลิ่นเหม็น  หมายถึงไม่มีกลิ่นของอุจจาระและปัสสาวะ  และต้องไม่มีกลิ่นเหม็นขณะราดน้ำ  หรือกดชักโครก  ซึ่งเป็นกลิ่นจากท่อ  หรือบ่อเกรอะที่ไหลย้อนขึ้นมา  โดยปกติส้วมที่มีการติดตั้งท่อระบายอากาศจากฐานตั้งส้วมและบ่อเกรอะจะไม่มีปัญหานี้

เกณฑ์มาตรฐานข้อ 8 :
สภาพท่อระบายสิ่งปฏิกูลและถังเก็บกักไม่รั่ว  แตก  หรือชำรุด
คำชี้แจงการใช้เกณฑ์ :
ไม่พบรอยแตกร้าวของท่อ  ถังเก็บกักและฝาปิดบ่อเก็บกักสิ่งปฏิกูล

เกณฑ์มาตรฐานข้อ 9 :
จัดให้มีการทำความสะอาด  และระบบการควบคุมตรวจตรา  เป็นประจำ
คำชี้แจงการใช้เกณฑ์ :
1.  จัดระบบให้มี  เจ้าหน้าที่รับผิดชอบทำความสะอาดเป็นประจำทุกวัน  ควรทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ  2  ครั้ง
2.  จัดระบบให้มีเจ้าหน้าที่  ควบคุมตรวจตราเพื่อให้การทำความสะอาดห้องส้วมสะอาด
น่าใช้อยู่เสมอ

เกณฑ์มาตรฐานข้อ 10 :
จัดให้มีส้วมนั่งราบสำหรับผู้พิการ  ผู้สูงวัย  หญิงตั้งครรภ์และประชาชนทั่วไปอย่างน้อยหนึ่งที่
คำชี้แจงการใช้เกณฑ์ :
ส้วมนั่งราบ  จะเป็นแบบชักโครกหรือราดน้ำก็ได้
1.  กรณีที่สถานที่ไม่มีคนพิการหรือผู้สูงอายุ  หรือไม่มีผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ส้วมแบบนั่งราบ  ถือว่าควรผ่านการประเมิน
2.  กรณีที่สถานที่นั้นมีโอกาสที่จะมีผู้สูงอายุ  หรือหญิงมีครรภ์  มาใช้บริการ  ส้วมนั่งราบควรจะมีราวจับดูรูปที่ปกหลัง


เกณฑ์มาตรฐานข้อ 11 :
ส้วมสาธารณะพร้อมใช้งานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ
คำชี้แจงการใช้เกณฑ์ :
ห้องส้วมและอุปกรณ์ในห้องส้วมทุกอย่างพร้อมใช้งานกรณีที่ชำรุด  และอยู่ระหว่างซ่อมแซมให้ติดป้ายบอกว่าชำรุดอยู่ระหว่างซ่อมแซม

เกณฑ์มาตรฐานข้อ 12 :
บริเวณที่ตั้งส้วมต้องมีอยู่ที่ลับตา/เปลี่ยว

เกณฑ์มาตรฐานข้อ 13 :
กรณีที่มีห้องส้วมตั้งแต่  2  ห้องขึ้นไป  ให้แยกเป็นห้องส้วมสำหรับชาย  หญิง  โดยมีป้ายหรือสัญลักษณ์ที่ชัดเจน

เกณฑ์มาตรฐานข้อ 14 :
ประตู  ที่จับเปิด  ปิด  และที่ล็อคด้านใน  สะอาด  อยู่ในสภาพดี  ใช้งานได้


เกณฑ์มาตรฐานข้อ 15 :
พื้นห้องส้วมแห้ง
คำชี้แจงการใช้เกณฑ์ :
พื้นห้องส้วมและบริเวณล้างมือต้องแห้ง  หากพบว่าบางครั้งพื้นภายในห้องส้วมไม่แห้ง  แต่ถ้าพื้นไม่ลื่น  และไม่มีน้ำขังถือว่าควรผ่านการประเมิน  (ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐานข้อ 16 :
แสงสว่างเพียงพอ  สามารถมองเห็นได้ทั่วบริเวณ
คำชี้แจงการใช้เกณฑ์ :
แสงสว่างอย่างน้อย  100 ลักซ์  หรืออาจใช้วิธีง่าย ๆ  คือ  ในคนสายตาปกติสามารถ  มองเห็นลายมือที่อยู่ห่างจากตาประมาณ  1  ฟุตได้ชัด  แสดงว่าแสงสว่างเพียงพอ